วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักการใช้คำราชาศัพท์


หลักการใช้คำราชาศัพท์

 การใช้คำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์หรือกราบทูลพระราชวงศ์นั้น 
 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

๑. นามราชาศัพท์

๑.๑ พระบรมราชและพระบรม ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์นำหน้าคำที่สำคัญยิ่งในกรณีที่ต้องการเชิดชูเกียรติยศพระราชอำนาจและ พระราชกฤษฎาภินิหาร เช่น พระบรมราชโองการ พระบรมมหาราชวัง (มีแห่งเดียว) พระบรมราโชวาท พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมโพธิสมภาร (บุญบารมี) พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมรูป พระบรมราชินี


๑.๓ พระมหา ใช้เหมือน “พระราช” เช่น พระมหากรุณาธิคุณ พระมหาเศวตรฉัตร พระมหามงกุฎ

๑. คำประสมที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ “พระ” นำหน้าอีก เช่น ฉลองพระเนตร ม้าพระที่นั่ง ธารพระกร บั้นพระองค์ เครื่องพระสำอาง เป็นต้น เจ้านายชั้นหม่อมเจ้า ใช้ราชาศัพท์เฉย ๆ ไม่ต้องมี “พระ” นำหน้า เช่น หัตถ์ กร ยกเว้นคำเฉพาะบางคำ เช่น ขอบพระทัย
๑.๖ ต้นหรือหลวง ใช้ประกอบท้ายคำที่เป็นคำไทยสามัญทั่วไป ทั้งคน สัตว์สิ่งของ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือหลวง รถหลวง เป็นต้น

๑.๕ ราช ใช้นำหน้าคำสามัญเพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่น ราชรถ ราชพัสดุ ราชสมบัติ ราชยาน ราชทัณฑ์ เป็นต้น
๒.ข้อสังเกต
๑.๔ พระ เป็นคำใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับของใช้ อวัยวะ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย ชีวิต เช่น พระแสง พระที่นั่ง พระหัตถ์ พระนาสิก พระวรกาย พระพี่เลี้ยง พระสหาย พระชาตา พระบังคนหนัก พระเคราะห์ เป็นต้น

๑.๒ พระราช นำหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม เช่น สมเด็จพระบรมโอรสธิราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี ได้แก่ พระราชวัง พระราชทรัพย์ พระราชนิพนธ์ ฯลฯ ส่วนเจ้านายอื่น ๆ ใช้คำว่า “พระ” นำหน้าเท่านั้น เช่น พระนิพนธ์ พระกุศล ฯลฯ ข้อสังเกต

“พระบรม” ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น เมื่อใช้กับสมเด็จพระบรมราชินี ให้ตัดคำว่า “บรม” ออก เช่น พระนามาภิไธย พระราชานุเคราะห์ พระราโชวาท เป็นต้น


การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย

การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย
       การเลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายนั้น ผู้พูดหรือผู้เขียนจะต้องรู้จักใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้การสื่อสารนั้นผิดวัตถุประสงค์ หรือผิดไปจากความต้องการที่จะสื่อความ ฉะนั้นเราจึงต้องรู้และเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ และเลือกใช้คำ วางรูปคำและประโยคให้ถูกต้อง
๑.  การใช้คำพ้องรูป
ฉันปูเสื่อปิดรูปูนา
คำ "ปู" คำเเรก เป็นคำกริยา หมายถึง วางแผ่ลงกับพื้น
คำ "ปู" คำที่สอง เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง

เขาวัดระยะทางจากบ้านไปถึง
วัดคำ "วัด" คำเเรก เป็นคำกริยา หมายถึงสอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น ส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง
คำ "วัด" คำที่สอง เป็นคำนาม หมายถึงสถานที่ทางศาสนา

๒.  การใช้คำที่เขียนต่างกัน ความหมายคล้ายกัน แต่ใช้ต่างกัน
บรรพชา-อุปสมบท
เด็กชายก้องบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใหล้บ้าน ชายไทยต้องมีอายุครบ ๒๐ ปี จึงจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้
บรรพชาเเละอุปสมบท แปลว่า บวช แต่บรรพชาใช้กับการบวชเณร ส่วนอุปสมบทใช้กับการบวชพระ

๓.  การใช้คำที่เขียนต่างกัน ความหมายเหมือนกัน มีวิธีใช้ต่างกันตามบุคคล และกาลเทศะศีรษะ-หัว
ประกายสวมหมวกบนศีรษะ
แม่ทำยำหัวหมู
ศีรษะและหัว หมายถึง ส่วนของร่างกายเหนือคอขึ้นไป เเต่คำว่า ศีรษะ ใช้กับคนเท่านั้น ส่วนคำว่า หัว ใช้ได้กับทั้งคนเเละสัตว์
๔.  การเรียงคำ ถ้าสลับที่หรือสลับเสียง ความหมายจะต่างกันข้างเปลือก-เปลือกข้าว
แม่นำข้าวเปลือกมาตำ เพื่อให้เปลือกข้าวหลุดออกจากเมล็ด
ข้าวเปลือก หมายถึง เมล็ดข้าวที่หลุดจากรวง ยังมีเปลือกหุ้มอยู่
เปลือกข้าว หมายถึง เปลือกที่หุ้มเมล็ดข้าว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แกลบ

๕.  การใช้คำหรือกลุ่มคำบางคำ ที่มีความหมายโดยนัย
เปรี้ยว
ยายอุมาพรนี่ เปรี้ยวจริงๆ
หมายความว่า ผู้หญิงคนนี้ทันสมัย กล้าทำอะไรล้ำหน้าผู้หญิงคนอื่นๆ

การใช้คำในภาษาไทย

การใช้คำในภาษาไทย
 ภาษาไทย
การใช้คำให้เหมาะสม การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสม ประกอบด้วยเสียงและความหมาย การรู้ จักเลือกคำมาใช้ให้ถูกต้อง ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
๑. การใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย ความหมายของคำ ที่จะกล่าวถึงมีดังนี้คือ
    ๑.๑ คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย - ความหมายตรง คือ ความหมายที่เป็นที่รับรู้ เข้าใจตรงกันในหมู่ผู้ใช้ภาษาไม่ต้องตี ความเป็นอย่างอื่น - ความหมายแฝง คือ ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำนั้นๆ เป็นความ หมายที่เพิ่มขึ้นจากความหมายตรง จะเข้าใจตรงกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ประสบการณ์ของ แต่ละบุคคล ตลอดจนคำแวดล้อม
    ๑.๒ คำบางคำอาจมีได้หลายความหมาย คือ เมื่ออยู่ในประโยคหนึ่ง คำบางคำอาจมี ความแตกต่างไปจากเมื่ออยู่ในอีกประโยคหนึ่ง ๑.๓ คำบางคำมีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ใช้ภาษาเกิดความสับสนได้ ...ตัวอย่างคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
๒. การใช้คำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ ไวยากรณ์ หมายถึง หลักว่าด้วยรูป และระเบียบวิธีการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่
- คำนาม
- คำสรรพนาม
 - คำกริยา
- คำวิเศษณ์
- คำบุพบท
- คำสันธาน
- คำอุทาน
๓. การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง การเขียนสะกดคำเนเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเขีนยสะกดบกพร่องหรือผิดความาหมายก็อาจจะ เปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้น ในการเขียนจึงต้องอาศัยการสังเกตและการจดจำหลักการเขียนคำประเภท ต่างๆ ดังนี้
- คำสมาส
- คำพ้องเสียง
- คำที่ใช้ ซ, ทร
- คำที่ใช้ ใ-, ไ- - คำที่ออกเสียง อะ
- การใช้วรรณยุกต์ - คำที่มีตัวการันต์
- คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
๔. การออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน พยางค์หนึ่งๆ ในภาษาไทยประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถ้าเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เปลี่ยนไป ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้สื่อความหมายผิดพลาดได้ เรื่องนี้ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำเป็นสำคัญ ...ตัวอย่างการออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน>> การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสมหรือตามระดับของคำ เวลานำคำไปใช้จะต้อง คำนึงถึงความเหมาะสมของบุคคล กาลเทศะ โอกาส และความรู้สึก ระดับของภาษาแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ ๓ ระดับคือ
  ๑. ภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้พูดหรือเขียน เพื่อความเข้าใจในกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม กัน ถ้อยคำที่ใช้ไม่ต้องพิถีพิถันกันมากนัก
  ๒. ภาษากึ่งแบบแผน เป็นภาษาที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน
  ๓. ภาษาแบบแผน เป็นภาษาที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าถูกต้องและประณีต มักใช้ในการพูดและ เขียนที่เป็นทางการ

















ภาษาไทยวันละคำ


 
ภาษาไทย..วันละคำ พร้อมความหมายที่เข้าใจ...ง่าย

สวรรค์
-มีวิธีจะไปถึงได้สองวิธีคือ ทำความดี กับมีเซ็กซ์

เสียบอล
-ผู้เล่นโดนแย่งลูกไปได้ ถ้าเป็นคนดู หมายถึงแพ้พนัน

บอลแพ้
-ภราดรไม่ชนะ

เกย์
-เพศที่ควบคุมการเพิ่มประชากรโลกได้ดีที่สุด

วันแดงเดือด
-วันที่แมนยูฯ เจอลิเวอร์พูล ถ้าเป็นผู้หญิงหมายความว่าเมนส์มา

หงส์
-ที่อังกฤษเป็นทีมฟุตบอล ที่เมืองไทยกลับเป็นยี่ห้อเหล้า

นมบูด
-จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภรรยาอายุ 60 ปีขึ้นไป

หัวช้าง
-บางครั้งก็เล็กกว่าหัวคน ถ้าเป็นชื่อของสิว

วัว
-สัตว์ที่มีความจำสั้นที่สุด ตีนของตัวเองยังจำไม่ได้

บีบสิว
-เปรียบเหมือนพ่อแม่ทำร้ายลูก แล้วตัวเองเจ็บยิ่งกว่า

ทอง
-ของมีค่าที่คนอยากได้ แต่จะไร้ค่าเมื่อเป็นวัยของผู้หญิง

ผายปอด
-ต่างจากผายลมคือ ผายปอดให้ผู้อื่นช่วย ส่วนผายลมทำเองล้วนๆ

รักแร้
-สิ่งที่เด็กสมัยใหม่เห็นเป็นเครื่องเชิดหน้าชูตา

สิทธิสตรี
-เครื่องมือทลายกำแพงทุกอย่าง แม้กระทั่งคำสอนในศาสนา

ลิขสิทธิ์
-สิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่า...ตูนี่แหละ เป็นเจ้าของ

เหินฟ้า
-การทะยานไปในอากาศ สำหรับแบคแฮมคือการยิงลูกโทษ

ชัยชนะ
-เกิดขึ้นได้จากการพ่ายแพ้ของฝ่ายตรงข้าม

โล่งอก
-สำหรับผู้หญิง คือการเอาซิลิโคนออกจากนม

ไข่ดาว
-หาได้จากหน้าอกของผู้หญิงบางคน

หนู
-สัตว์ชนิดหนึ่งที่ผู้หญิงเกลียด แต่เมื่อเอามาเรียกตัวเองกลับชอบ

ฟุตบอล
-คล้ายกับเมีย คือหลังจากได้ครอบครองแล้วก็ต้องเขี่ยมันออกไป

ชิป
-วัตถุอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ถ้าหาไม่เจอเรียกว่า ชิปหาย

ฉลาม
-สัตว์ที่ไม่อยากเกิดมามีหู

ปอด
-อวัยวะที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับบุหรี่

งานศพ
-งานที่เจ้าตัวไม่เคยออกมาต้อนรับแขกเลย






วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิทานอีสป

นิทานอีสป เรื่อง "มดน้อยจอมขยัน"



ในฤดูร้อนที่ร้อนมากของวันหนึ่งจิ้งหรีดจอมขี้เกียจตัวหนึ่งเห็นฝูงมดขนข้าว, เศษผลไม้และลูกไม้ต่าง ๆเดินรำเรียงกันเอาเข้าไปเก็บสะสมไว้ในรังอย่าง ขะมักขะเม้น มันจึงเกิดความสงสัยขึ้นมาอย่างมากจึงถามพวกมดว่า " นี่เจ้ามด พวกเจ้าน่ะขนข้าว,ขนอาหารไปเก็บไว้ทำไม ?ในทุ่งก็มีมากมายกินกัน ไม่รู้จักหมดรู้จักสิ้นอยู่แล้ว พวกเจ้านี่ช่างแปลกจริง ๆ ร้อนออกจะตายไป บ้าบอไม่มี ที่เปรียบ ขยันกันจริงนะพวกเจ้า ฮ่า ๆๆ " มันคิดดูถูกพวกมดอย่างมาก...พวกมดจึง หันมาตอบกวน ๆกับมันว่า " ท่านว่าแปลกมากหรือ? " "แต่พวกข้าว่าไม่เห็นจะน่าแปลก ตรงไหนเลย ฤดูกาลนี้พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ พวกข้าเก็บได้ง่ายและที่ เหลือกินก็จะช่วยกันขนเอาไปเก็บสะสมไว้เป็นสะเบียงในฤดูหนาวที่แห้งแล้งไม่มีพืชพันธ์ ธัญญาหารให้เก็บกินกัน
ได้ง่าย ๆไงล่ะ "เจ้าจิ้งหรีดเมื่อได้ฟังดังนั้นจึงพูดขึ้นว่า " จะไปคิดอะไร กันมากมายถึงกาลไกลโน่นให้ปวดหัวด้วยล่ะเสียเวลาปล่าว ๆ เอาอย่างข้านิสินึกจะกินก็กิน นึกจะนอนก็นอนอาหารมีอยู่รอบตัวไม่เห็นเคยอดหยากสักครั้งเลย " ตอบแล้วมันก็บินหนีไปแทะ อ้อยข้างทางอาหารโปรดของมันเหมือนขี้เกียจต่อกรกับพวกมด พวกมดมองเจ้าจิ้งหรีดที่บิน จากไปแล้วคิดว่า " ยังไม่รู้ถึงความอดหยาก ถึงได้ดูถูกและล้อเลียนพวกเรา รอให้ฤดูหนาวมาถึงก่อน เถอะ...ฮึ...แล้วจะรู้สึก "
แม้แต่ในวันที่ฝนตกหนัก พวกมดก็ยังยอมเปียกฝนด้วยตัวที่สั่นเทาไม่ลดละและเลิกขนสะเบียงอาหาร เลยมันยังคงตั้งหน้าตั้งตาลำเรียงเข้าไปเก็บไว้ในรังอยู่อย่างเดิม...เจ้าจิ้งหรีดซึ่งนั่งหลบฝนอยู่ใต้ใบไม้ เมื่อมันเหลือบไปเห็นพวกมดเข้าเท่านั้นมันก็หัวเราะออกมาด้วยเสียงอันดังและส่ายหัวไปมาแล้วพูด ดูถูกล้อเลียนพวกมดว่า "ขยันกันจริง ๆนะพวกเจ้า ฮ่า ๆๆ..ฝนตกเฉอะแฉะน่ารำคาญจะตาย อย่างวันนี้ พวกเจ้าถ้าจะบ้าเอาอย่างมากเลยนะ...ข้าว่ามานอนหลบฝนกับข้าไม่ดีกว่าเหรอ รอให้ฝนหยุดเสียก่อนจะดีกว่านะ ฮ่า ๆๆๆ " แต่พวกมดก็ยังเดินขนของไปแล้วหันมาตอบกับจิ้งหรีด เหมือนไม่ยอมให้เสียขนอาหารไปเลยสักนิด " บอกแล้วไง ตอนนี้ยังพอมีพืชพันธ์ธัญญาหารให้เก็บอยู่ ต้องรีบเอาไปเก็บสะสมไว้อีกให้มาก ๆไง " จิ้งหรีดส่ายหัวไปมาด้วยความเบื่อในความคิดของ พวกมดมันเลยเกล้งนั่งหลับไม่ยอมหันกลับไปมองพวกมดอีกเลย...
และในวันที่ลมพัดแรงแสนแรง พวกมดก็ยังคงทำงานและหน้าที่ของมันอยู่ไม่มีเปลี่ยนแปลง พวกมันเดินเกาะกลุ่มกันเดินต้านลมขนข้าวขนสะเบียงอาหารอยู่เหมือนเดิม เจ้าจิ้งหรีดนั้น วันนี้หนีลม แรงเข้าไปหลบอยู่ในโพรงไม้และเมื่อมันมองออกไปและเห็นพวกมดเข้าให้อีก มันจึงตะโกนออกมา ด้วยเสียงอันดังแล้วก็ยังพูดดูถูกพวกมดเหมือนเดิมอีกนั่นแหละว่า " ข้าว่าพวกเจ้านี่บ้าจริง ๆของ แท้เลยหละ...ลมพัดแรงจะตายไป ยังจะขยันกันอยู่ได้อีก เดี๋ยวก็ปลิวไปตามลมหรอก ฮ่า ๆๆๆ " พวกมดนั้นฟังเจ้าจิ้งหรีดพูดดูถูกและล้อเรียนจนเคยเสียแล้วแต่พวกมันก็ไม่ได้คิดโกรธ แถมยัง หยุดเดินและพูดเตือนเจ้าจิ้งหรีดด้วยอีกว่า " นี่ท่านจิ้งหรีด นี่ก็ใกล้จะถึงฤดูที่แห้งแล้วแล้วนะ ท่านได้เตรียมและหาเก็บสะสมสะเบียงอาหารไว้บ้างแล้วหรือยัง?? "  เมื่อย่างเข้าฤดูแล้งแหล่งอาหารของมดและแมลงต่าง ๆก็เริ่มเหลือน้อยลงเข้าทุกที พื้นดินนั้นก็เริ่ม แตกระแหง ต้นไม้ที่ยืนต้นนั้นใบก็เริ่มเหี่ยวเฉาลง เจ้าจิ้งหรีดที่ชอบเอาแต่ความสบายและไม่เคยคิด ถึงกาลข้างหน้าสักนิดเลยนั้น เพราะมันมัวแต่เอาแต่ร้องรำทำเพลงอย่างมีความสุขมาตลอดไม่ได้คิด เตรียมตัวไว้รับสภาพที่แห้งแล้งหาของกินยากที่เยือนมาถึงนี้เลย มันจำต้องนั่งเอาใบไม้คลุมตัว ไว้ด้วยความหนาวและพร้อมกับความหิวโหยด้วยมันไม่ได้กินอะไรมาหลายวันแล้ว เรี่ยวแรงที่เคยมีก็ หมดไป มันจึงไม่สามารถที่จะบินไปหาแหล่งอาหารที่อยู่ไกล ๆกับใครเขาได้...
แล้วในที่สุดฤดูหนาวก็มาเยือน หิมะเริ่มตกพรำลงมา เจ้าจิ้งหรีดหนาวสะท้านด้วยความหนาวและ หิวโหยเหลือเกิน....และเมื่อสิ้นไร้หนทางเข้า มันจึงเที่ยวคลานไปตามที่ต่าง ๆที่มีรังของพวกแมลง เพื่อหวังขอเศษอาหารจากพวกแมลงเหล่านั้นกินปะทังชีวิตของมัน มันคลานตะเวนไปเรื่อย ๆจน ร่างกายสกปรกมอมแมมไปหมดจนกระทั่งมันมาพบกับรังของพวกมดที่มันเคยพูดดูถูกและล้อเลียน เอาไว้อย่างมากมาย แต่เพราะความหิวและใกล้จะตาย มันพยายามรวบรวมพลังที่มีเหลืออยู่น้อยนิด นั้นเคาะประตูรังของพวกมดทันที "ก๊อก ๆๆ ได้โปรดเถิด นึกว่าสงสารแมลงด้วยกัน ช่วยแบ่งเศษอาหาร ให้ข้าปะทังความตายและความหิวสักนิดเถิดท่านมด "
พวกมดจึงเปิดประตูให้แล้วพูดว่า " พวกเราจะแบ่งอาหารให้กับเจ้าก็ได้ แต่เจ้าจะต้องสำนึกผิดที่ ได้เคยพูดดูถูกและล้อเลียนพวกข้าเอาไว้เมื่อก่อนเสียก่อน " เจ้าจิ้งหรีดจึงพูดว่า " เจ้าไม้ต้องบอกให้ข้า สำนึกหรอก มดเอ๋ย...ข้ารู้ซึ้งและเข้าใจที่เจ้าบอกแล้วว่าความอดหยากและแล้นแค้นนั้นมันเป็นอย่าง ไร? เพราะกว่าจะหาข้าวได้สักเม็ด ผลไม้สักผล...นี่ถ้าข้าเชื่อพวกเจ้าเสียตั้งแต่แรก ป่านนี้คงตุนอาหารไว้ เต็มบ้าน ไม่ต้องมานั่งคลานอย่างกระเสือกกระสนและเที่ยวขอเขากินอย่างหรือยิ่งกว่าขอทานแบบนี้ ว่าแต่เจ้ามีข้าวสักเม็ดหรือปล่าวบริจากให้ข้าสักหน่อยเถอะ " มดส่ายหัวอย่างอิดหนาระอาใจ แต่ก็กวักมือเรียกให้เข้ามาในรัง แล้วแบ่งข้าวให้จิ้งหรีดกินหลายเม็ด....
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า        รู้จักเก็บออม รู้จักวางแผน ให้ความสำคัญและรอบคอบ ก็จะมีกินมีใช้ ไม่ขาดมือและลำบาก  
ราชสีห์กับหนู
วันหนึ่งมีแม่หนูตัวหนึ่งเดินแบกสะเบียงอาหารเทินไว้บนหัว แล้วเดินอย่างรีบเร่ง เพื่อที่จะนำกลับไปให้ลูก ๆซึ่งกำลังรอกันอยู่ด้วยความหิวอยู่ที่ในรังของมัน...มันเดิน แหวกกอหญ้าไปข้างหน้าเรื่อย ๆ แต่จะเป็นด้วยความที่รีบร้อนหรือด้วยมันเป็นหนูที่มีนิสัย ไม่ชอบดูตาม้าตาเรือเอาเสียเลย...ก็อาจเป็นได้ เพราะแทนที่พวกกอหญ้าที่มันตั้งหน้าตั้งตาแหวก ไปข้างนั้นจะเป็นกอหญ้าจริง ๆไงกลับกลายมาเป็นขนลำแพนคอของราชสีห์ตัวหนึ่งที่กำลัง นอนหลับกลางวันอยู่อย่างอุตุเข้า ตัวหนึ่งไป...เมื่อมันได้รู้สึกตัวว่ามันได้เดินมาผิดที่เสียแล้ว มันจึงตกใจกลัวอย่างที่สุด " อ้า ร่า ร้า ร้า...แย่แล้วสิเราคราวนี้... "แม่หนูร้องเสียงหลงเลยทีเดียว
ราชสีห์ตัวนั้นกำลังนอนหลับสบาย ๆอยู่ดี ๆ เมื่อมันมีความรู้สึกว่าได้มีสิ่งแปลกปลอมชนิดหนึ่ง มาเดินต้วมเตี้ยมเกะกะอยู่ตรงขนลำแพนคอของมันเข้าอย่างนั้น มันจึงสะดุ้งตื่นขึ้นมา พร้อมทั้งคำราม ขึ้นด้วยความโกรธ และพร้อมกันนั้นมันได้เอื้อมมือที่มีอุ้งเล็บที่ใหญ่และแหลมคมของมันขึ้นไปตะบบ เจ้าสิ่ง ๆนั้นทันที..และหมายที่จะกินเสียด้วยความโกรธ แม่หนูจึงได้พูดอ้อนวอนขอร้องกับราชสีห์ว่า " ท่านราชสีห์ ได้โปรดไว้ชีวิตอย่าได้ฆ่าข้าพเจ้าเลย...ข้าพเจ้ายังมีลูกที่ยังเล็ก ๆอยู่หลายตัว ที่จะต้อง เลี้ยงดู ได้โปรดไว้ชีวิตสัตว์ตัวเล็กๆและต่ำต้อยอย่างข้าพเจ้าเถอะ " ราชสีห์ฟังแม่หนูอ้อนวอนขอชีวิต มันหยุดคิดแล้วพูดแบบฉุนเฉียวว่า " แช๊ะ..นึกว่าอะไร ที่แท้ก็เป็น หนูตัวเล็กเท่าธุลีดิน กินเข้าไปก็เท่านั้นแหละ ไม่ได้ช่วยยาใส้ให้ข้าได้หรอก " มันจึงได้ปล่อยแม่หนูตัวนั้น ให้เป็นอิสระ...และก่อนที่แม่หนูจะจากไปได้หันมาบอกกับราชสีห์ว่า " ขอบคุณท่านที่ช่วยไว้ชีวิตให้ คราวนี้ คงจะมีสักวันหนึ่งที่จะได้ตอบแทนบุญคุณของท่านเมื่อเวลาที่ท่านเดือดร้อนบ้าง...ข้าพเจ้าจะ ไม่มีวันลืมเลยเป็นอันขาด " แล้วแม่หนูก็รีบเดินจากไป ราชสีห์มองแม่หนูตัวนั้นแล้วพูดขึ้นลอย ๆเพราะ นึกขำขึ้นมาติดหมัดว่า "ฮ่า ๆๆหนูตัวเท่าธุลีดินแค่นี้ จะมีวันที่จะได้ตอบแทนบุญคุณราชสีห์อย่างข้าได้ ละมั้ง ?ฮ่า ๆๆ " ว่าแล้วมันก็หันกลับมาล้มตัวลงนอนอย่างเดิมตามเรื่องตามราวของมันต่อไป... อยู่ต่อมาไม่นานวันหนึ่งหลังจากที่ราชสีห์ตัวนั้นได้ตื่นขึ้นมาหลังจากนอนกลางวันตามปกติของมันแล้ว และท้องของมันก็เริ่มส่งเสียงร้องด้วยความหิว มันจึงออกเดินเพื่อหาเหยื่อไปในที่ต่าง ๆ เมื่อมัน เดินมองหาและคิดตัดสินใจไปด้วยกันว่าวันนี้จะเอาสัตว์ตัวไหนมาเป็นเหยื่ออันโอชะดีอยู่นั้น มันก็มอง ไปเห็นก้อนเนื้อก้อนหนึ่งในดงหญ้าเข้า " เอ๋ ๆๆนั่นมันก้อนเนื้อนี่..แหมวันนี้ช่างโชคดีเสียจริง " มันคิดและพร้อมกันนั้นก็ย่างสามขุมเข้าไปที่ก้อนเนื้อก้อนนั้นทันที...
และในฉับพลันนั้นเอง ก็ได้เกิดเสียงดังสนั่นขึ้น...มันเป็นเสียงของกับดักที่นายพรานป่าวาง และเอาก้อนเนื้อล่อไว้นั่นเอง ราชสีห์จึงเป็นอันต้องติดกับดักอันนั้นของนายพรานป่าไปโดยปริยาย.... มันร้องครวญครางด้วยเสียงอันดัง แล้วในขณะนั้นเผอิญแม่หนูตัวที่มันได้เคยไว้ชีวิตให้ไว้ตัวนั้น ได้ผ่านมาทางนั้นกับลูก ๆของมันเข้าพอดีโดยบังเอิญ... แม่หนูจำราชสีห์ได้...มันจึงบอกกับราชสีห์ว่า " อย่ากลัวไปเลยท่าน พวกเราจะช่วยท่านเอง " ว่าแล้ว แม่หนูก็สั่งให้พวกลูก ๆของมันตรงเข้าไปช่วยกันกัด,แทะ "กา ริ..กา ริ..."บ่วงกับดักอันนั้นให้กันเป็น การใหญ่...แม่หนูกัดไปและมองไปไกล ๆทางด้านโน้นของภูเขาเข้า แล้วมันก็รีบตะโกนบอกเร่งลูก ๆ เป็นการใหญ่ว่า " เร็ว ๆลูกช่วยกันกัดเชือกทุกเส้นให้ขาดเร็ว ๆ นั่นนายพรานป่าที่เป็นเจ้าของบ่วง มันกำลังเดินมาทางโน้นเห็นลิบ ๆนั่นแล้ว... เร็ว ๆลูกช่วยกัน " แล้วก็จริงอย่างที่แม่หนูพูดเลยเพราะที่ไกลออกไปตรงลิบ ๆนั้นนายพรานป่าเจ้าของบ่วงกับดักกำลัง เดินมาจริง ๆอย่างที่มันพูดบอก...และด้วยความพยายามของหนูแม่ลูก ราชสีห์จึงได้หลุดออกมาจากบ่วง ได้อย่างทันการก่อนที่นายพรานป่าจะมาถึงตรงนั้น ราชสีห์บอกขอบคุณแม่หนูเป็นการใหญ่ " ขอบคุณพวกท่านมาก...ท่านหนู แม้ตัวของพวกท่านจะเล็กแค่ธุลีดินแค่นี้ก็เถอะ ถ้าคิดรวมพลังกันแล้ว ก็สามารถและกลับกลายเป็นพลังอันใหญ่หลวงได้เหมือนกัน เราเชื่อและทึ่งในพลังอันมหาศาลของพวก ท่านแล้วจริง ๆ " มันพูดขอบคุณจบแล้วก็วิ่งไปคาบก้อนเนื้ออันที่เกือบจะทำให้มันต้องพบจุดจบก่อนนั้นไว้ แล้ววิ่งหนีหายไปจากตรงนั้น 

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
รู้จักทำคุณกับผู้อื่น สักวันต้องได้รับการตอบแทน

กลอนสุนทรภู่สอนหญิง

กลอนสุนทรภู่สอนหญิง
อ่านกันเลยกลอนเพราะจากสุนทรภู่ เรื่องการสอนหญิง สาวๆสมัยนี้อ่านกันบ้างนะ
 .....(อย่า ชิงสุกก่อนห่าม)

จงรักนวลสงวนนาม ห้ามใจไว้
อย่าหลงใหลจำ คำที่พร่ำสอน
คิดถึงหน้าบิดาและมารดร
อย่ารีบร้อนเร็วนักมักไม่ดี
เมื่อสุกงอม หอมหวานจึงควรหล่น
อยู่กับต้น อย่าให้พรากไปจากที่
อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี
เมื่อบุญมีคงจะมาอย่าปรารมภ์
อย่าคิดเลย คู่เชยคงหาได้
อุตส่าห์ทำ ลำไพ่เก็บประสม
อย่าเกียจคร้านงานสตรีจงนิยม จะอุดม สินทรัพย์ไม่อับจน...


.....(ความ กตัญญูกตเวที)


มีสลึงพึงประจบ ให้ครบบาท
 อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกิน น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็ อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่ แก่เฒ่าชรากาล
จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ
ด้วยชนกชนนี นั้นมีคุณ
ได้การุณเลี้ยงรักษามาจนใหญ่
อุ้มอุทรป้อน ข้าวเป็นเท่าไร หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง
ถ้าเราดีมี จิตคิดอุปถัมภ์ กุศลล้ำเลิศเท่าภูเขาหลวง
จะปรากฏยศ ยิ่งสิ่งทั้งปวง กว่าจะล่วงลุถึงซึ่งพิมาน
เทพไทในห้อง สิบหกชั้น จะชวนกันสรรเสริญเจริญสาร
ว่าสตรีนี้ เป็นยอดยุพาพาล ได้เลี้ยงท่านชนกชนนี....


.....(การพูดจา)


จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูด อื้ออึงขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ
แม้จะเรียน วิชาทางค้าขาย
อย่าปากร้าย พูดจาอัชฌาสัย
จึงซื้อง่ายขายดีมีกำไร
ด้วยเขาไม่เคืองจิตระอิดระอา
เป็นมนุษย์ สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหย หิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
ถึงชายใดเขา พอใจมาพูดเกี้ยว
อย่าโกรธ เกรี้ยวโกรธาว่าหยาบหยาม
เมื่อไม่ชอบก็ อย่าตอบเนื้อความตาม
มันจะลามเล่นเลยเหมือนเคยเป็น....

 

.....(กิริยามารยาท)

เมื่อจะจรนอนเดินดำเนินนั่ง
จงระวังในจิตขนิษฐา
อย่าเหม่อ เมินเดินให้ดีมีอัชฌา
แม้นพลั้งพลาดบาทาจะอายคน
เห็นผู้ใหญ่ หรือใครเขานั่งแน่น
อย่าไกวแขนปัดเช่นไม่เห็นหน
ค่อยวอนว่า ข้าขอจรดล
นั่นแหละคน จึงจะมีปรานีนาง.....


.....(การ ครองตน)


อย่าจับปลาสองหัตถ์จะพลัดพลาด จับให้คงลง ให้ขาดว่าเป็นผัว
จึงนับว่าคนดีไม่มีมัว ถ้าชายชั่ว ร้างไปมิใช่ชาย
เป็นผู้หญิงสิ่งใดจะล้ำเลิศ
สุดประเสริฐ ก็แต่ใจไม่เสื่อมสลาย
ถึงรูปทรง นงคราญจะพาลคลาย
ก็จะกลายส่ง สวยด้วยใจงาม


บทสรุปปิดท้ายของสุนทรภู่



สุภาษิตซึ่งประดิษฐ์มาไว้นี้
ล้วนแต่มีเยี่ยงอย่างดังเสกสรร
ใช่จะแกล้ง แต่งคำมารำพัน
คนทุกวัน อย่างนี้มีอาเกียรณ์*  (*อาเกียรณ์= เกลื่อนกลาด)
จะร่ำไปสัก เท่าไรก็ไม่หมด
ขี้เกียจจด เหน็ดเหนื่อยเมื่อยมือเขียน
อุตส่าห์ตรองตริตรึกนึกจำเนียร
ตั้งความเพียรผูกข้อต่อเรื่องราว
พอเป็นเรื่อง สำหรับดับทุกข์โทษ
เป็นประโยชน์ แก่สตรีที่สวยสาว
เป็นตำรับแบบฉบับไปยืดยาว
ในเรื่องราวสุภาษิตลิขิตความ
ข้อไหนชั่ว แล้วอย่ามัวไปขืนทำ
จงจดจำบุญ บาปอย่าหยาบหยาม
เก็บประกอบเอาแต่ชอบในเรื่องความ
ประพฤติตามห้ามใจเสียให้ดี
อย่าฟังเปล่า เอาแต่กลอนสุนทรเพราะ
จงพิเคราะห์คำเลิศประเสริฐศรี
ไว้เป็นแบบ สอนตนพ้นราคี
กันบัดสีคำ ค่อนคนนินทา
ให้สุขีศรีเมืองเลื่องลือฟุ้ง
หอมจรุงกลิ่นกลั้วทั่วทิศา
เป็นที่ชื่น เช่นอย่างนางสีดา
ในใต้หล้า หมายประคองตัวน้องเอย .....


วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สำนวนไทย


สำนวนไทย
e0b980e0b894e0b987e0b881e0b888e0b8b8e0b881
 ความหมายของสำนวนเป็นคำนาม มีหลายความหมาย คือ  ๑.ถ้อยคำที่เรียบเรียงหรือโวหาร และมีเสียงสัมผัสกัน  บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่มๆดอนๆ เช่น ก่อร่าง สร้างตัว ขับไล่ไสส่งมีสัมผัสสระ
  ๒.ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ อุปมา คือสิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เหมือน เปรียบเหมือนดุจดัง ส่วนอุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งใช้คู่กับอุปมา เช่น ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบลักษณะของความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  ๓.ถ้อยคำที่แสดงออกมา มีลักษณะเป็นคำคม คือ ถ้อยคำที่เป็นคารม หรือโวหารอันคมคายเป็นคำพูดที่ให้แง่คิด มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน (สุนทรภู่) หรือเป็นถ้อยคำพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ เช่นสำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี
  ๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า กระต่ายตื่นตูม วัวลืมตีน
  ๕.ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือคำ พูด เช่นสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หล)สำนวนยาขอบและลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่งๆ  เช่น  อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน


กบในกะลาครอบ
- คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น
ตัวอย่าง
"เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่าน เหมือนกบในกะลาครอบ"
กรวดน้ำคว่ำขัน
- ตัดขาดไม่คบค้าสมาคนด้วยอีกต่อไป
ตัวอย่าง
"เพื่อนตัวแสบโกงเงินฉันไปเป็นแสนๆ ฉันน่ะกรวดน้ำคว่ำขันเลย"
กระดูกร้องไห้
- การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ
ตัวอย่าง
"คดีฆาตกรรมนี้เหมือนกระดูกร้องไห้เลยนะ ใครจะนึกว่าจะจับตัวฆาตกรได้ เรื่องล่วงเลยมาถึงสิบปีแล้ว"
กระต่ายตื่นตูม
- ตื่นกลัวเกินกว่าเหตุ
ตัวอย่าง
"เธออย่าทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูมไปหน่อยเลย เรื่องมันยังไม่เกิด อาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดก็ได้"
กระต่ายหมายจันทร์
- ชายที่หลงรักหญิงที่สูงส่งกว่าตนและไม่มีทางที่ความรักจะสมหวัง
ตัวอย่าง
"เขาทำตัวเป็นกระต่ายหมายจันทร์ หลงรักลูกสาวเศรษฐี คงจะสมหวังอยู่หรอก"
กระโถนท้องพระโรง
- ผู้ที่ใครๆก็ใช้งานได้ และเป็นที่ระบายอารมณ์ของทุกคน
ตัวอย่าง
"เอะอะก็มาลงที่ฉัน ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงนะ"
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
- การทำอะไรสองอย่างพร้อมกันโดยไม่รอบคอบหรือชักช้า อาจเกิดความเสียหายได้
ตัวอย่าง
"ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากำลังรุนแรงขึ้น น่าจะมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่มัวแต่รอให้ครูสอนให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด เด็กอาจติดยาไปแล้ว กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้"
กินน้ำใต้ศอก
- เสียเปรียบ จำต้องเป็นรอง คอบรับเดนคนอื่น
ตัวอย่าง
"ถึงจะรักเขามากแค่ไหนฉันก็ไม่ยอมกินน้ำใต้ศอกใคร "
กินน้ำเห็นปลิง
- ตะขิดตะขวงใจเมื่อจะทำอะไรซักอย่าง
ตัวอย่าง
"จะให้เราเลือกเขาเป็นศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างไร มันเหมือนกินน้ำเห็นปลิงเพราะรู้ทั้งรู้ว่าเขาฉ้อราษฎร์บังหลวง"
เกลือเป็นหนอน
- คนในบ้านหรือพวกเดียวกัน คิดคดทรยศ
ตัวอย่าง
"แผนการที่เราวางไว้ฝ่ายตรงข้ามรู้หมด สงสัยเกลือเป็นหนอน"

ทำไมถึงอยากเรียนภาษาไทย

       การเรียนภาษาไทยจึงเป็นการเรียน เพื่อให้เข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาติของภาษาไทย และข้อตกลงในสังคมไทยเพื่อให้สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคมไทย การใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือการใ ช้ภาษาได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ ฉะนั้นถ้ายังมีชีวิตและทำงานอยู่ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ต้องใช้ภาษาไทยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การเรียนภาษาไทยในปัจจุบันนี้จึงเป็นการเรียนรู้เครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้นั่นเอง