วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักการใช้คำราชาศัพท์


หลักการใช้คำราชาศัพท์

 การใช้คำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์หรือกราบทูลพระราชวงศ์นั้น 
 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

๑. นามราชาศัพท์

๑.๑ พระบรมราชและพระบรม ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์นำหน้าคำที่สำคัญยิ่งในกรณีที่ต้องการเชิดชูเกียรติยศพระราชอำนาจและ พระราชกฤษฎาภินิหาร เช่น พระบรมราชโองการ พระบรมมหาราชวัง (มีแห่งเดียว) พระบรมราโชวาท พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมโพธิสมภาร (บุญบารมี) พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมรูป พระบรมราชินี


๑.๓ พระมหา ใช้เหมือน “พระราช” เช่น พระมหากรุณาธิคุณ พระมหาเศวตรฉัตร พระมหามงกุฎ

๑. คำประสมที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ “พระ” นำหน้าอีก เช่น ฉลองพระเนตร ม้าพระที่นั่ง ธารพระกร บั้นพระองค์ เครื่องพระสำอาง เป็นต้น เจ้านายชั้นหม่อมเจ้า ใช้ราชาศัพท์เฉย ๆ ไม่ต้องมี “พระ” นำหน้า เช่น หัตถ์ กร ยกเว้นคำเฉพาะบางคำ เช่น ขอบพระทัย
๑.๖ ต้นหรือหลวง ใช้ประกอบท้ายคำที่เป็นคำไทยสามัญทั่วไป ทั้งคน สัตว์สิ่งของ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือหลวง รถหลวง เป็นต้น

๑.๕ ราช ใช้นำหน้าคำสามัญเพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่น ราชรถ ราชพัสดุ ราชสมบัติ ราชยาน ราชทัณฑ์ เป็นต้น
๒.ข้อสังเกต
๑.๔ พระ เป็นคำใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับของใช้ อวัยวะ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย ชีวิต เช่น พระแสง พระที่นั่ง พระหัตถ์ พระนาสิก พระวรกาย พระพี่เลี้ยง พระสหาย พระชาตา พระบังคนหนัก พระเคราะห์ เป็นต้น

๑.๒ พระราช นำหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม เช่น สมเด็จพระบรมโอรสธิราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี ได้แก่ พระราชวัง พระราชทรัพย์ พระราชนิพนธ์ ฯลฯ ส่วนเจ้านายอื่น ๆ ใช้คำว่า “พระ” นำหน้าเท่านั้น เช่น พระนิพนธ์ พระกุศล ฯลฯ ข้อสังเกต

“พระบรม” ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น เมื่อใช้กับสมเด็จพระบรมราชินี ให้ตัดคำว่า “บรม” ออก เช่น พระนามาภิไธย พระราชานุเคราะห์ พระราโชวาท เป็นต้น


การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย

การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย
       การเลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายนั้น ผู้พูดหรือผู้เขียนจะต้องรู้จักใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้การสื่อสารนั้นผิดวัตถุประสงค์ หรือผิดไปจากความต้องการที่จะสื่อความ ฉะนั้นเราจึงต้องรู้และเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ และเลือกใช้คำ วางรูปคำและประโยคให้ถูกต้อง
๑.  การใช้คำพ้องรูป
ฉันปูเสื่อปิดรูปูนา
คำ "ปู" คำเเรก เป็นคำกริยา หมายถึง วางแผ่ลงกับพื้น
คำ "ปู" คำที่สอง เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง

เขาวัดระยะทางจากบ้านไปถึง
วัดคำ "วัด" คำเเรก เป็นคำกริยา หมายถึงสอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น ส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง
คำ "วัด" คำที่สอง เป็นคำนาม หมายถึงสถานที่ทางศาสนา

๒.  การใช้คำที่เขียนต่างกัน ความหมายคล้ายกัน แต่ใช้ต่างกัน
บรรพชา-อุปสมบท
เด็กชายก้องบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใหล้บ้าน ชายไทยต้องมีอายุครบ ๒๐ ปี จึงจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้
บรรพชาเเละอุปสมบท แปลว่า บวช แต่บรรพชาใช้กับการบวชเณร ส่วนอุปสมบทใช้กับการบวชพระ

๓.  การใช้คำที่เขียนต่างกัน ความหมายเหมือนกัน มีวิธีใช้ต่างกันตามบุคคล และกาลเทศะศีรษะ-หัว
ประกายสวมหมวกบนศีรษะ
แม่ทำยำหัวหมู
ศีรษะและหัว หมายถึง ส่วนของร่างกายเหนือคอขึ้นไป เเต่คำว่า ศีรษะ ใช้กับคนเท่านั้น ส่วนคำว่า หัว ใช้ได้กับทั้งคนเเละสัตว์
๔.  การเรียงคำ ถ้าสลับที่หรือสลับเสียง ความหมายจะต่างกันข้างเปลือก-เปลือกข้าว
แม่นำข้าวเปลือกมาตำ เพื่อให้เปลือกข้าวหลุดออกจากเมล็ด
ข้าวเปลือก หมายถึง เมล็ดข้าวที่หลุดจากรวง ยังมีเปลือกหุ้มอยู่
เปลือกข้าว หมายถึง เปลือกที่หุ้มเมล็ดข้าว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แกลบ

๕.  การใช้คำหรือกลุ่มคำบางคำ ที่มีความหมายโดยนัย
เปรี้ยว
ยายอุมาพรนี่ เปรี้ยวจริงๆ
หมายความว่า ผู้หญิงคนนี้ทันสมัย กล้าทำอะไรล้ำหน้าผู้หญิงคนอื่นๆ

การใช้คำในภาษาไทย

การใช้คำในภาษาไทย
 ภาษาไทย
การใช้คำให้เหมาะสม การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสม ประกอบด้วยเสียงและความหมาย การรู้ จักเลือกคำมาใช้ให้ถูกต้อง ควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
๑. การใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย ความหมายของคำ ที่จะกล่าวถึงมีดังนี้คือ
    ๑.๑ คำที่มีความหมายตรงและความหมายโดยนัย - ความหมายตรง คือ ความหมายที่เป็นที่รับรู้ เข้าใจตรงกันในหมู่ผู้ใช้ภาษาไม่ต้องตี ความเป็นอย่างอื่น - ความหมายแฝง คือ ความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในความหมายของคำนั้นๆ เป็นความ หมายที่เพิ่มขึ้นจากความหมายตรง จะเข้าใจตรงกันหรือไม่ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ประสบการณ์ของ แต่ละบุคคล ตลอดจนคำแวดล้อม
    ๑.๒ คำบางคำอาจมีได้หลายความหมาย คือ เมื่ออยู่ในประโยคหนึ่ง คำบางคำอาจมี ความแตกต่างไปจากเมื่ออยู่ในอีกประโยคหนึ่ง ๑.๓ คำบางคำมีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ใช้ภาษาเกิดความสับสนได้ ...ตัวอย่างคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
๒. การใช้คำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์ ไวยากรณ์ หมายถึง หลักว่าด้วยรูป และระเบียบวิธีการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค ชนิดของคำแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่
- คำนาม
- คำสรรพนาม
 - คำกริยา
- คำวิเศษณ์
- คำบุพบท
- คำสันธาน
- คำอุทาน
๓. การเขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้อง การเขียนสะกดคำเนเรื่องสำคัญ เพราะถ้าเขีนยสะกดบกพร่องหรือผิดความาหมายก็อาจจะ เปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้น ในการเขียนจึงต้องอาศัยการสังเกตและการจดจำหลักการเขียนคำประเภท ต่างๆ ดังนี้
- คำสมาส
- คำพ้องเสียง
- คำที่ใช้ ซ, ทร
- คำที่ใช้ ใ-, ไ- - คำที่ออกเสียง อะ
- การใช้วรรณยุกต์ - คำที่มีตัวการันต์
- คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
๔. การออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน พยางค์หนึ่งๆ ในภาษาไทยประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถ้าเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เปลี่ยนไป ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้สื่อความหมายผิดพลาดได้ เรื่องนี้ต้องอาศัยการสังเกตและจดจำเป็นสำคัญ ...ตัวอย่างการออกเสียงให้ถูกต้องและชัดเจน>> การใช้คำในภาษาไทยใช้ต่างกันตามความเหมาะสมหรือตามระดับของคำ เวลานำคำไปใช้จะต้อง คำนึงถึงความเหมาะสมของบุคคล กาลเทศะ โอกาส และความรู้สึก ระดับของภาษาแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ ๓ ระดับคือ
  ๑. ภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้พูดหรือเขียน เพื่อความเข้าใจในกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดสนิทสนม กัน ถ้อยคำที่ใช้ไม่ต้องพิถีพิถันกันมากนัก
  ๒. ภาษากึ่งแบบแผน เป็นภาษาที่ใช้ทั้งในการพูดและเขียน
  ๓. ภาษาแบบแผน เป็นภาษาที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าถูกต้องและประณีต มักใช้ในการพูดและ เขียนที่เป็นทางการ

















ภาษาไทยวันละคำ


 
ภาษาไทย..วันละคำ พร้อมความหมายที่เข้าใจ...ง่าย

สวรรค์
-มีวิธีจะไปถึงได้สองวิธีคือ ทำความดี กับมีเซ็กซ์

เสียบอล
-ผู้เล่นโดนแย่งลูกไปได้ ถ้าเป็นคนดู หมายถึงแพ้พนัน

บอลแพ้
-ภราดรไม่ชนะ

เกย์
-เพศที่ควบคุมการเพิ่มประชากรโลกได้ดีที่สุด

วันแดงเดือด
-วันที่แมนยูฯ เจอลิเวอร์พูล ถ้าเป็นผู้หญิงหมายความว่าเมนส์มา

หงส์
-ที่อังกฤษเป็นทีมฟุตบอล ที่เมืองไทยกลับเป็นยี่ห้อเหล้า

นมบูด
-จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีภรรยาอายุ 60 ปีขึ้นไป

หัวช้าง
-บางครั้งก็เล็กกว่าหัวคน ถ้าเป็นชื่อของสิว

วัว
-สัตว์ที่มีความจำสั้นที่สุด ตีนของตัวเองยังจำไม่ได้

บีบสิว
-เปรียบเหมือนพ่อแม่ทำร้ายลูก แล้วตัวเองเจ็บยิ่งกว่า

ทอง
-ของมีค่าที่คนอยากได้ แต่จะไร้ค่าเมื่อเป็นวัยของผู้หญิง

ผายปอด
-ต่างจากผายลมคือ ผายปอดให้ผู้อื่นช่วย ส่วนผายลมทำเองล้วนๆ

รักแร้
-สิ่งที่เด็กสมัยใหม่เห็นเป็นเครื่องเชิดหน้าชูตา

สิทธิสตรี
-เครื่องมือทลายกำแพงทุกอย่าง แม้กระทั่งคำสอนในศาสนา

ลิขสิทธิ์
-สิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่า...ตูนี่แหละ เป็นเจ้าของ

เหินฟ้า
-การทะยานไปในอากาศ สำหรับแบคแฮมคือการยิงลูกโทษ

ชัยชนะ
-เกิดขึ้นได้จากการพ่ายแพ้ของฝ่ายตรงข้าม

โล่งอก
-สำหรับผู้หญิง คือการเอาซิลิโคนออกจากนม

ไข่ดาว
-หาได้จากหน้าอกของผู้หญิงบางคน

หนู
-สัตว์ชนิดหนึ่งที่ผู้หญิงเกลียด แต่เมื่อเอามาเรียกตัวเองกลับชอบ

ฟุตบอล
-คล้ายกับเมีย คือหลังจากได้ครอบครองแล้วก็ต้องเขี่ยมันออกไป

ชิป
-วัตถุอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ถ้าหาไม่เจอเรียกว่า ชิปหาย

ฉลาม
-สัตว์ที่ไม่อยากเกิดมามีหู

ปอด
-อวัยวะที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับบุหรี่

งานศพ
-งานที่เจ้าตัวไม่เคยออกมาต้อนรับแขกเลย