วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย

การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย
       การเลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายนั้น ผู้พูดหรือผู้เขียนจะต้องรู้จักใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้การสื่อสารนั้นผิดวัตถุประสงค์ หรือผิดไปจากความต้องการที่จะสื่อความ ฉะนั้นเราจึงต้องรู้และเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ และเลือกใช้คำ วางรูปคำและประโยคให้ถูกต้อง
๑.  การใช้คำพ้องรูป
ฉันปูเสื่อปิดรูปูนา
คำ "ปู" คำเเรก เป็นคำกริยา หมายถึง วางแผ่ลงกับพื้น
คำ "ปู" คำที่สอง เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง

เขาวัดระยะทางจากบ้านไปถึง
วัดคำ "วัด" คำเเรก เป็นคำกริยา หมายถึงสอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น ส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง
คำ "วัด" คำที่สอง เป็นคำนาม หมายถึงสถานที่ทางศาสนา

๒.  การใช้คำที่เขียนต่างกัน ความหมายคล้ายกัน แต่ใช้ต่างกัน
บรรพชา-อุปสมบท
เด็กชายก้องบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใหล้บ้าน ชายไทยต้องมีอายุครบ ๒๐ ปี จึงจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้
บรรพชาเเละอุปสมบท แปลว่า บวช แต่บรรพชาใช้กับการบวชเณร ส่วนอุปสมบทใช้กับการบวชพระ

๓.  การใช้คำที่เขียนต่างกัน ความหมายเหมือนกัน มีวิธีใช้ต่างกันตามบุคคล และกาลเทศะศีรษะ-หัว
ประกายสวมหมวกบนศีรษะ
แม่ทำยำหัวหมู
ศีรษะและหัว หมายถึง ส่วนของร่างกายเหนือคอขึ้นไป เเต่คำว่า ศีรษะ ใช้กับคนเท่านั้น ส่วนคำว่า หัว ใช้ได้กับทั้งคนเเละสัตว์
๔.  การเรียงคำ ถ้าสลับที่หรือสลับเสียง ความหมายจะต่างกันข้างเปลือก-เปลือกข้าว
แม่นำข้าวเปลือกมาตำ เพื่อให้เปลือกข้าวหลุดออกจากเมล็ด
ข้าวเปลือก หมายถึง เมล็ดข้าวที่หลุดจากรวง ยังมีเปลือกหุ้มอยู่
เปลือกข้าว หมายถึง เปลือกที่หุ้มเมล็ดข้าว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แกลบ

๕.  การใช้คำหรือกลุ่มคำบางคำ ที่มีความหมายโดยนัย
เปรี้ยว
ยายอุมาพรนี่ เปรี้ยวจริงๆ
หมายความว่า ผู้หญิงคนนี้ทันสมัย กล้าทำอะไรล้ำหน้าผู้หญิงคนอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น